บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ กับเงินฝากธนาคาร แตกต่างกันตรงไหน


             หลายครั้งที่ออกไปพบลูกค้า แล้วลูกค้าเกิดการสับสนระหว่าง ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ กับเงินฝากธนาคาร  จริงๆทั้งสองอย่างมีความแตกต่างข้อดีและข้อเสียที่ต่างกัน

แล้วจะเลือกอะไรดีล่ะ

            เบื้องต้นเรามาทำความรู้จัก"ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์"กันก่อน การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย เมื่อมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัย ให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาประกันภัย การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็น ส่วนผสมของการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์ ส่วนของ การออมทรัพย์ คือส่วนที่ผู้เอาประกันภัยได้รับคืนเมื่อสัญญาครบกำหนด หรือจะมีการปันผลก็แล้วแต่รูปแบบสัญญาการออม ซึ่งเงินที่เราส่งให้ในทุกๆเดือน หรือ ทุกๆปี คือ เบี้ยประกัน  โดยการออมเงินในแบบของประกันชีวิตสะสมทรัพย์จะมีทั้งแบบระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ที่มีอายุตั้งแต่ 3-5 ปี หรือยาวไปจนถึง 25-30 ปี เลยทีเดียว 

           ในส่วนเงินฝากธนาคาร  ซึ่งเงินฝากธนาคารที่ให้ผลตอบแทนสูงก็มักเป็นเงินฝากประจำ 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน หรือ 24 เดือน แล้วแต่ธนาคารจะกำหนดออกมา ผลตอบแทนส่วนใหญ่ก็จะประมาณ 2-3% ต่อปี หากบัญชีเงินฝากประจำยังไม่ถึงกำหนด ถ้าเราต้องการเงินก็สามารถถอนออกมาได้ เพียงแต่ดอกเบี้ยก็จะไม่เป็นไปตามที่ธนาคารกำหนดเท่านั้น โดยการฝากประจำประเภทนี้มักจะกำหนดวงเงินฝากขั้นต่ำ เช่น 50,000 บาทขึ้นไป ต่อครั้ง แต่ไม่กำหนดจำนวนครั้งในการฝาก หรือเงินฝากประจำประเภทที่กำหนดให้ฝากเงินเท่ากันทุกงวดติดต่อกันเป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง เช่น เดือนละ 2,000 บาท ภายในเวลา 2 ปี โดยเราสามารถเลือกจำนวนเงินที่จะฝากในแต่ละเดือนได้
   

ข้อดีของการทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือ
          ส่วนข้อเสียหลักๆเลยคือ เราไม่สามารถถอนเงินมาได้จดกว่าจะหมดอายุสัญญา หรือถ้าถอนมา
เงินที่ได้อาจจะไม่เท่าทุนประกัน หรือจำนวนเบี้ยที่จ่าย เพราะมีการหักค่าดำเนินการ ในกรณียกเลิกสัญญาภายในหนึ่งปี จะไม่ได้อะไรคืนเลยนะตัวเธอ ทั้งนี้ในแต่ละสัญญาจะมีจุดคุ้มทุน คือ เงินสะสมเกินจำนวนเบี้ยจ่าย แต่คืนได้ไม่เท่าทุนประกันอยู่ดี ดังนั้น วินัยการออมจึงสำคัญ 

            ส่วนข้อดีของการฝากธนาคารหลักๆที่เราเห็นชัดๆ คือการถอนเงินออกมาก่อนได้ จะเสียหายเพียงค่ดอกเบี้ยที่ลดลงเท่านั้น  
                   แต่ข้อเสียก็คือ ภาษี และถ้าเราขาดวินัยการออม เงินที่ถอนได้ง่ายๆ แบบน้จะหมดลงในไม่ช้า ผลตอบแทน อาจจะไม่มากเท่าการทำประกันชีวิตแบบสะสมทรพย์ 

          ถ้าถามว่าแบบไหนดี ก็ขึ้นอยู่กับวินัยแต่ละคน แต่ถ้าให้เชียร์คือทำทั้งสองอย่างแหละ ถ้าเงินออมในธนาคารคุณมีเหตุต้องใช้ อย่างน้อยๆ คุณยังมีเงินอีกก้อนไว้ใช้ยามเกษียณ ไม่ใช่ว่าแบบสะสมจะเป็นได้แค่เงินมรดก คุณไม่ได้ใช้ เราสามารถเลือกอายุ ของแต่ละแบบได้ 

#ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
#เงินฝากธนาคาร
#ความเหมือนที่แตกต่าง

เช็คความเสี่ยงทางการเงินได้ด้วยตัวคุณเองคลิ๊ก>> วัดความเสี่ยง

  ติดตามบทความสุขภาพและสอบถามเรื่องประกันชีวิตได้ที่
https://www.facebook.com/AIAchonchanit/

ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลประกันเพิ่มเติม
LINE ID : chonchanit
Tel : 0619546396
มิว ชลชนิต ปึงวิริยะรัตน์ รหัสตัวแทน 594844
           

NCDs โรคนี้เกิดจากพฤติกรรม แต่ประกันก็คุ้มครอง

         โรคกลุ่ม NCDs เป็นโรคที่เกี่ยวกับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งโรคกลุ่มนี้จะค่อยๆสะสมอาการ ค่อยเกิด ค่อยทวีความรุนแรง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วจะเกิดการเรื้อรังของโรคตามมาด้วย ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง และพบว่าผู้ป่วยจำนวนมากเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มนี้ โดยเฉพาะคนไทย 
โรคในกลุ่ม NCD มีอะไรบ้าง
  1. โรคเบาหวาน
  2.  โรคความดันโลหิตสูง 
  3. โรคหลอดเลือดหัวใจ 
  4. โรคหลอดเลือดสมอง 
  5. โรคไตเรื้อรัง
  6.  โรคไขมันในเลือดสูง
  7.  โรคมะเร็ง
  8.  โรคทางพันธุกรรม 
  9. โรคตับแข็ง 
  10. โรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) 
           สาเหตุของโรคมาจากพฤติกรรมแบบไหน

          โรคกลุ่ม NCDs สามารถป้องกันได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเสียใหม่ เช่น การออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง 5ครั้ง/สัปดาห์ งดดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน และเค็มจัด หลีกเลี่ยงอาหารปิ้งย่าง ไม่รับประทานอาหารหรือเนื้อสัตว์แบบสุกๆดิบๆ รับประทานผักและผลไม้มากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึกเกินไป ไม่เครียด ไม่ซื้อยากินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เป็นต้น


 แต่ถ้าเป็นโรคในกลุ่มนี้ อัตราค่ารักษาพยาบาลโรค NCDs หลักล้านก็เอาแทบไม่อยู่นะคะ


แล้วเราจะรอให้วันนั้นมาถึงโดยที่ไม่เริ่มทำอะไรเลยหรือ
NCDs โรคนี้ประกันคุ้มครอง
#โรคNCDsประกันคุ้มครองไหม
#ประกันชีวิต 

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thaibreastcancer.com/970/
ติดตามบทความสุขภาพและสอบถามเรื่องประกันชีวิตได้ที่
https://www.facebook.com/AIAchonchanit/

ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลประกันเพิ่มเติม
LINE ID : chonchanit
Tel : 0619546396
มิว ชลชนิต ปึงวิริยะรัตน์ รหัสตัวแทน 594844
ที่มา :- สสส.