บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

โรคที่มาพร้อมกับการอดนอน รูปภาพโดย AMARIN HEALTH




            ช่วงนี้มิวหายหน้าหายตาไป แน่นอนว่า งานเยอะคิวแน่น ยอมรับเลยว่าสองอาทิตย์สุดท้ายของเดือนจวบจนเมื่อคืนนี้ นอนไปคืนละ 2-3 ชั่วโมง แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เป็นแบบนี้ มิวเป็นคนที่ถ้ามีเรื่องกังวล เรื่องเครียด จะนอนไม่หลับ ประจวบเหมาะพอดี ทางเพจ อมรินทร์ได้แชร์เรื่องโรคที่มาพร้อมกับการอดนอนมา เลยอยากมานำเสนอให้ทุกคน อ่าน เอาตรงๆมิวก็อ่านด้วยนั่นแหละ เริ่มกันเลย

       ใครที่ติดตามภาพยนต์เรื่อง ฟรีแลนด์ ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ คงพอรู้สาเหตุว่าผิวหนังมีปัญหาเกี่ยวข้องอย่างไรกับการพักผ่อนน้อย ด้วยตัวพระเอกที่โหมทำงานหนักข้ามวันข้ามคืน จนเป็นโรคผิวหนังให้นางเอกรักษา มิวยอมรับว่านี่คืออาการแรกๆที่มิวพบเลย จากภาวะเครียดนอนน้อย น้องสุกใสเลยถามหา ในวัย 30 ปี หรือบางคนจะมีลักษณะอาการ เกิดตุ่มน้ำใสๆขึ้นตามร่างกายส่วนมากจะเกิดขึ้นรอบๆริมฝีปากและรอบอวัยวะเพศให้ปวดแสบปวดร้อนเล่นๆ เริมก็เป็นโรคในลักษณะเดียวกับโรคเครียดลงผิวนั่นเอง บางคนเมื่อเกิดอาการผิวเครียดแล้วอาจคิดว่าตัวเองเป็นโรคภูมิแพ้จึงพยายามหาสาเหตุของการแพ้นั้นๆ (ธาตุแพ้) ซึ่งจะหาอย่างไรก็ไม่เจอเพราะว่าอาการของโรคเครียดลงผิวนั้นจะถูกกระตุ้นโดยความเหนื่อยล้าและความเครียดที่เกิดขึ้นกับตัวเรานั่นเอง


         เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องหวัดจามไอนะ เนื่องด้วยมีภาวะเครียดสะสม ร่วมกับการนอนน้อย โภชนาการไม่ดี วินตามินดีก็ขาด ก็กำลังกายก็ไม่ทำ  นพ.ไพศิษฐ์ กล่าวว่า ปกติแล้วคนเราจะมีภูมิคุ้มกันอยู่ในร่างกาย คอยทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอม เข้าสู่ร่างกาย แต่ในปัจจุบันด้วยลักษณะ สภาพอากาศที่ผันผวน ร้อนจัด ฝนตกหนัก บางครั้งทำให้คนเราเกิดสภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เห็นได้จากบางคนมีอาการคัดจมูกทุกๆ เช้าหลังตื่นนอน หรือบางคนคัดจมูก จนถึงขั้นจามไม่หยุด เมื่ออากาศชื้นหรือเย็นขึ้น ล้วนเป็นอาการเบื้องต้นของ “ภูมิคุ้มกันต่ำ” ซึ่งหากปล่อยให้ ลุกลามไปมาก อาจเกิดอาการหวัดเรื้อรัง หรือร้ายแรงถึงขั้นโรคมะเร็ง


            โรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบได้บ่อยมากโรคหนึ่งในผู้ใหญ่ โดยพบได้สูงถึงประมาณ 25-30% ของประชากรโลกที่เป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด พบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และจะพบได้สูงขึ้นในผู้สูงอายุ (ในบางประเทศพบโรคความดันโลหิตสูงได้สูงถึง 50% ของผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ส่วนในเด็กก็สามารถพบเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน แต่จะพบได้น้อยกว่าในผู้ใหญ่มาก สถานการณ์ของโรคความดันโลหิตสูงทั่วโลกมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเรื่อย (คาดการณ์ว่าในปี พ.ศ.2568 ประชากรวัยผู้ใหญ่ทั่วทั้งโลกจะป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากถึง 1.56 พันล้านคน) เพราะเป็นหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตของคนทั่วโลกก่อนวัยอันควรถึงเกือบ 8 ล้านคนต่อปี และยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตเกือบร้อยละ 50 ด้วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคหัวใจ 


        จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในช่วงปี พ.ศ. 2555-2558 อัตราผู้ป่วยโรคหัวใจในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปีพ.ศง 2557 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 58,681 คน หรือโดยเฉลี่ยถึงชั่วโมงละ 7 คน และยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ารรับประทานอาหารและออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญ ควรเน้นผัก ผลไม้ ธัญพืช ลดปริมาณไขมัน โซเดียม และน้ำตาลให้น้อย หมั่นออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก หยุดสูบบุหรี่ นอกจากนี้ ความเศร้าและความเครียดก็อาจเป็นปัจจัยการเกิดโรคหัวใจได้ จึงควรพยายามผ่อนคลายให้มาก รวมทั้งรักษาสุขอนามัยให้ถูกต้องอยู่เสมอเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ


          ความอ้วนจริงๆแล้วเกิดจากหลายๆ ปัจจัย ที่นำไปสู่การห้มตัวเองไม่ให้กินไม่ได้ เช่น  ความเครียด หรือการนอนน้อยก็อ้วนได้ การนอนน้อยทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจในขณะนอนหลับ  ฮอร์โมน ghrelin และ leptin มีบทบาทสำคัญต่อความรู้สึกหิวและความสมดุลย์ของการใช้พลังงานในร่างกาย ghrelin กระตุ้นให้เกิดความหิวและอยากอาหาร โดยเฉพาะอาหารจำพวกแป้ง ในขณะที่ leptin ลดความอยากอาหารและเพิ่มการใช้พลังงานของร่างกาย ระดับของฮอร์โมนทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกับการนอนหลับ เมื่อร่างกายนอนหลับไม่เพียงพอ ระดับ ghrelin จะเพิ่มขึ้น และระดับ leptin จะลดลง ทำให้เกิดความหิวและอยากอาหาร จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน 


          ถ้าพูดถึงโรคอ้วน สิ่งที่ตามมาเหมือนพี่น้องของโรคอ้วนก็คือเบาหวาน ตามที่กล่าวในส่วนโรคอ้วนไปนั่นคือ การนอนน้อยจะทำให้กินมากขึ้นเพื่อให้มีแรงทำงานและทำกิจกรรมต่าง ๆ และยังทำให้เกิดการต้านทานต่ออินซูลิน การเผาผลาญกลูโคสลดลง จึงเสี่ยงต่อการเกิด โรคเบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM, Diabetes) เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนขึ้น

         ดังนั้นเราควรนอนให้เพียงพอวันละ 7-8 ชั่วโมง ไม่ควรออกกำลังกายหนักๆก่อนนอน อย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ทำจิตใจให้สงบและผ่อนคลาย หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ทำให้ร่างกายและสมองตื่นตัว จนไม่อยากนอนหรือนอนหลับยาก ทำใจให้ปล่อยวาง การสวดมนต์ หรือนั่งสมาธิอาจทำให้นอนหลับง่ายขึ้น (อันนี้เป็นการเตือนบอกตัวมิวเองด้วย) สรุปง่ายๆคือ ตามหลักพุทธศาสนา ทุกสิ่งมันล้วนเป็นอนิจจัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ ปล่อยวาง และมีสติรู้ตนเอง มิวเริ่มใช้วิธีนี้ และค่อนข้างได้ผลนะคะ  นอนไม่หลับลองกำหนดจิตสมาธิ หรือฟังเพลงสำหรับการนอนหลับ ใน Youtube มีนะคะ ถ้าใครเครียด ก็ให้บอกตัวเองไว้เสมอว่า


"THIS TOO SHALL PASS" : "เดี๋ยวมันก็ผ่านไป" 

ติดตามบทความสุขภาพและสอบถามเรื่องการวางแผนการเงินของคุณได้ที่


ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลประกันเพิ่มเติม

LINE ID : chonchanit
Tel : 0619546396

มิว ชลชนิต ปึงวิริยะรัตน์ รหัสตัวแทน 594844