1.วางแผนล่วงหน้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
แน่นอนว่าวันหยุดมักมาพร้อมกับการท่องเที่ยว และคนเรามักจะมีความตื่นเต้นเสมอเมื่อต้องเดินทางไปเจออะไรใหม่ๆ ดังนั้นเพื่อป้องกันการเสียความรู้สึกขณะท่องเที่ยว จึงควรมีการวางแผนให้พอดีสหรับเรื่องต่างๆ หาข้อมูลกิจกรรมใกล้ๆ สถานที่หลักของคุณที่คุณจะไปไว้กันเหนียว อาจจะทำให้คุณประทับใขกัยสถานที่ใหม่นอกเหนือจากแผนที่วางเอาไว้
2.จำกัดตัวเลือกให้น้อยลงอย่ารักพี่เสียดายน้องโอกาสหน้ามาใหม่ได้
อาการแบบว่าแกตรงนั้นฉันอยากไป ตรงนี้ก็อยาก อาจจะพาลให้ทริปหมดสนุก นักจิตวิทยาชื่อ Barry Schwartz เรียกมันว่า "paradox of choice" คือความขัดแย้งกันในใจสำหรับการมีตัวเลือกที่มากเกินไป เช่น อยากไปทั้งทะเล ภูเขา น้ำตก หรือไปทริปสุดหรู ในเวลาที่จำกัด กรณีแบบนี้จะมีภาวะที่สมองเกิดอาการสับสนได้ พึงระลึกไว้ว่ามีทางเลือกมากกว่าหนึ่งนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ทางเลือกมากเกินไปจะส่งผลให้การเดินทางของคุณเต็มไปด้วยความวิตกกังวลได้
3.ไม่ว่าทริปนั้นจะสั้นจะยาวล้วนแต่มีความทรงจำที่แตกต่างกัน
นักเศรษฐศาสตร์อย่าง Daniel Kahneman แสดงทัศนะเอาไว้ว่า ระหว่างเวลาหนึ่งสัปดาห์กับสองสัปดาห์นั้นมีผลไม่แตกต่างกันในเรื่องของความทรงจำในการเดินทางแต่ล่ะครั้ง แต่สิ่งที่น่าจะต้องพิจารณาก็คือคุณได้พักผ่อนเต็มที่และได้เก็บเกี่ยวอะไรบ้างจากการเดินทางต่างหากค่ะ
4.ปลอยวางเรื่องงานจงมีความสุขกับการท่องเที่ยว
Al Gini ศาสตราจารย์ด้านจริยธรรมทางธุรกิจที่ Loyola University of Chicago แนะนำว่าให้คุณใช้เวลา 2-3 วัน ก่อนการเดินทางผ่อนคลายตัวเองจากเรื่องต่างๆให้มากที่สุด แล้วการเดินทางในวันหยุดของคุณจะเต็มไปด้วยความสนุกมากขึ้น โยนภาระทิ้งไปชั่วคราว มีความสุขกับปัจจุบันที่อยู่ตรงหน้าเราเถอะค่ะ
5. ให้รางวัลชีวิตตัวเองบ้าง
จริงอยู่ว่ามิวจะเน้นไปในเรื่องการออมเงิน แต่คุณขา ชีวิตคุณต้องมีความสุขใช้จ่ายบ้างนะคะ ถ้ามีแผนการเงินที่ดี เรื่องแบบนี้ไม่ต้องกลัวค่ะ จุดประสงค์ที่แท้จริงของการเดินทางในวันพักผ่อนก็คือการเก็บเกี่ยวเรื่องราวดีๆ เอาไว้ให้ได้จดจำ และเป็นเชื้อเพลิงให้ชีวิตสำหรับการทำงานหลังจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ในการใช้จ่ายเงินของคุณไม่ควรเน้นไปที่การซื้อข้าวของแต่ควรพุ่งประเด็นไปที่การทำกิจกรรมต่างๆ เช่นหาที่พักดี ๆ หาของอร่อยๆ ทาน จะช่วยให้คุณมีความสุขมากขึ้น
6. พูดถึงทริปเก่าๆที่เราสนุกสนานด้วยกัน
มีผลการศึกษาในปี 2015 ชิ้นหนึ่งที่ระบุว่า ผู้ที่ใช้เวลาพูดคุยกันเกี่ยวกับการเดินทางที่เพิ่งกลับมา เช่นความสนุกของการได้ล่องแพ รสชาติของอาหาร หรือความสวยงามของสถานที่ จะช่วยให้สามารถรักษาความรู้สึกของการได้ท่องเที่ยวนั้นให้ยาวนานขึ้น อีกอย่างเมื่อเกิดบทสนทนาที่มีความรู้สึกร่วมกันมันจะทำให้การพูดคุยในช่วงเวลานั้นมีแต่ความสุข
อันที่จริงวันหยุดที่เราออกเที่ยว บางคนอาจจะมีความสุขแค่เพียงได้นอนนิ่งๆที่บ้านก็ได้ อย่างที่เขาว่ากันว่า ความสุขมันไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าไปเที่ยวที่ไหน แต่มันอยู่ที่ว่าเราไปเที่ยวหรือใช้เวลาวันหยุดนั้นๆกับใคร ขอให้ทุกคนมีความสุขกับวันหยุดยาวในรูปแบบที่แต่ละคนพอใจ อย่าเผลอจ่ายของที่ไม่จำเป็นมากนัก พักยาวๆให้พร้อมรับการทำงานอีกครั้ง แล้วเราค่อยมาวางแผนการเงินกันต่อนะคะ
ติดตามบทความสุขภาพและสอบถามเรื่องการวางแผนการเงินของคุณได้ที่
ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลประกันเพิ่มเติม
LINE ID : chonchanit
Tel : 0619546396
มิว ชลชนิต ปึงวิริยะรัตน์ รหัสตัวแทน 594844