บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561

ไวรัสโรต้า ลูกท้องเสีย คุณพ่อคุณแม่ควรรู้


เมื่อเจ้าตัวเล็กท้องเสียมีไข้

       ไวรัสโรต้า คืออะไร  ไวรัสโรต้านี้เป็นไวรัสกลุ่มอาร์เอ็นเอ (Double-stranded RNA virus) ใน ตระกูล (Family) Reoviridae  เด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบเกือบทุกคน จะติดเชื้อไวรัสนี้อย่างน้อยสักครั้งหนึ่ง 

         การติดต่อของโรคนี้ เกิดจากการกินสิ่งปนเปื้อนอุจจาระที่มีเชื้อนี้ เช่น เด็กมือเปื้อนแล้วอมหรือดูดนิ้ว หรือเชื้อ/อุจจาระติดกับของเล่น หรือเครื่องใช้ จึงเป็นโรคป้องกันค่อนข้างยาก ดังนั้นจึงมักมีการระบาดของไวรัสโรตาในโรงเรียนเด็กเล็ก หรือสถานเลี้ยงเด็ก 
    
       เด็กเล็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน จะมีภูมิคุ้มกันต้านทานต่อไวรัสโรตาที่ผ่านรกมาจากแม่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และเด็กที่กินนมแม่จะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโรตามากกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ จึงมักพบท้องร่วงจากไวรัสโรตาในเด็กสองกลุ่มนี้น้อยกว่าเด็กกลุ่มอื่นๆ

         ในประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบว่า ในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี 43-56% ของเด็กที่เป็นโรคท้องร่วงที่ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เกิดจากไวรัสโรตา และยังมีผู้ป่วยเด็กอีกจำนวนมากเป็นผู้ป่วยนอก และส่วนหนึ่งไปรักษาตามคลินิกใกล้บ้าน ไม่ได้นอนรักษาในโรงพยาบาล
เด็กท้องร่วงที่ต้องนอนโรงพยาบาลอัตราสูงสุดจะอยู่ที่อายุ 6 เดือนถึง 15 เดือน ซึ่งข้อ มูลนี้แสดงให้เห็นว่า เด็กเล็กมีโอกาสเสี่ยงต่อท้องร่วงมาก และทำให้เกิดอาการรุนแรงจนอาจเสียชีวิต


วิธีการรักษา
  •   รักษาประคับประคองตามอาการาโดยให้สารละลายเกลือแร่กินให้เพียงพอกับน้ำ/เกลือแร่ที่เสียไปกับการอาเจียนและท้องร่วง/ท้องเสีย/ท้องเดินซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการรักษา
  • หากเด็กกินไม่ได้ ต้องให้น้ำ/เกลือแร่ทดแทนทางหลอดเลือดดำ โดยปกติเด็กมักจะไม่ค่อยยอมกิน หลักการที่ใช้ได้ผลส่วนมากคือ พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ต้องเข้าใจและพยายาม ไม่ยอมกินต้องพยายามป้อนให้ได้ตลอด อาเจียนออก ก็ป้อนใหม่ ซึ่งอาการอาเจียนมักเกิดอยู่ประ มาณไม่เกิน 2 วัน
  • เมื่อมีไข้ รักษาอาการไข้โดยเช็ดตัวและให้ยาลดไข้ ให้ยาขับลมหากปวดท้องหรือท้อง อืด ซึ่งการให้เกลือแร่ที่เพียงพอจะช่วยลดอาการท้องอืด
  • หากเด็กหยุดอาเจียน ให้รับประทานข้าวต้ม หรือโจ๊กได้ หากเด็กถ่ายเป็นน้ำหลายวันและเด็กดื่มนมวัวอาจเกิดภาวะขาดเอนไซม์แลคเตสที่ใช้ย่อยนมวัว ควรเปลี่ยนเป็นนมที่ไม่มีแลคโตส หรือให้นมถั่วเหลือง ในเด็กที่ให้นมแม่ ให้นมแม่ต่อไปโดยไม่ต้องเปลี่ยนนม
  • ปัสสาวะ เป็นสิ่งชี้วัดว่าน้ำในร่างกายเพียงพอหรือไม่ ควรติดตามเรื่องการปัสสาวะของเด็ก หากเด็กปัสสาวะออกดี (ภายใน 4 ชั่วโมง ควรปัสสาวะอย่างน้อยหนึ่งครั้ง และปริมาณไม่ควรน้อยกว่า 0.5 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักเด็ก 1 กิโลกรัม ต่อ 1 ชั่วโมง) แสดงว่าทดแทนภาวะเสียน้ำได้ดี ซึ่งต้องทดแทนเกลือแร่ที่เสียไปด้วย
  • เกลือแร่ที่มีขายเป็นซองใช้ได้ ดูการผสมให้ถูกต้องว่า 1 ซองผสมน้ำเท่าใด 
  • หากหาเกลือแร่ไม่ได้ ให้ทำน้ำเกลือแร่เอง โดยใช้น้ำตาลทราย 3 ช้อนชา (ช้อนยาเด็ก 3 ช้อนชาได้เท่ากับ 15 กรัม) ผสมน้ำสะอาด 750 มิลลิลิตร (ขวดน้ำปลาที่มีคอคอด หรือ ใช้ขวดนม 8 ออนซ์ 3 ขวด กับอีก 1 ออนซ์) ใส่เกลือประมาณครึ่งช้อนชาต้มให้เดือด และทิ้งไว้ให้เย็น
  • หรือใช้น้ำข้าวเติมเกลือและน้ำตาล หรือ ป้อนด้วยน้ำแกงจืด
  • หากเด็กไม่ยอมกิน ก็ใช้ป้อนด้วย น้ำอัดลม สไปรท์  หรือเซเวนอัพ  หรือเครื่องดื่มประเภทเดียวกัน ผสมน้ำอีกหนึ่งเท่าตัว เขย่าฟองออกก่อน ป้อนเด็กบ่อยๆ

การป้องกันโรค


1. การรักษาสุขอนามัย เป็นการป้องกันที่สำคัญที่สุด
        รักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น หมั่นล้างมือบ่อยๆ (ด้วยน้ำและสบู่) โดยเฉพาะหลังการขับถ่ายและก่อนรับประทานอาหาร รวมทั้งการใช้ช้อนกลาง และหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ หลอดดูด ผ้าเช็ดหน้า และผ้าเช็ดมือ เป็นต้น

        สถานรับเลี้ยงเด็กและโรงเรียนอนุบาล ต้องจัดให้มีอ่างล้างมือและส้วมที่ถูกสุขลักษณะ หมั่นดูแลรักษาสุขลักษณะของสถานที่และอุปกรณ์เครื่องใช้ให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงการกำจัดอุจจาระเด็กให้ถูกต้องด้วย หากพบเด็กป่วย ต้องรีบป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่นๆ ควรแนะนำผู้ปกครองให้รีบพาเด็กไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ  ระหว่างนี้ไม่ควรพาเด็กไปในสถานที่แออัด เช่น สนามเด็กเล่น สระว่ายน้ำ และห้างสรรพสินค้า และผู้เลี้ยงดูเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย

        ในกรณีที่เป็นทารกและเด็กเล็ก แนะนำการให้นมมารดา เนื่องจากในน้ำนมมารดามีสารภูมิต้านทานที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคอุจจาระร่วง แต่ในรายที่ใช้นมผสมและขวดนม ควรชงนมในปริมาณที่พอดีต่อการให้นมแต่ละครั้ง ทำความสะอาดขวดนมให้สะอาดและนำไปต้มหรือนึ่งทุกครั้งก่อนการนำมาใช้ใหม่

2. วัคซีน
        ปัจจุบัน ได้มีการผลิตวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้า โดยเริ่มผลิตครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อ 10 ปีก่อน แม้มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรค แต่มีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้น ได้แก่ การเกิดโรคลำไส้กลืนกัน จึงมีการระงับการใช้ไป ต่อมาเมื่อ 2 ปีก่อนได้มีการพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนได้ ซึ่งวัคซีนรุ่นใหม่นี้เป็นวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง ในการป้องกันโรคและมีความปลอดภัยสูง

        วัคซีนโรต้าใช้รับประทานในเด็กเล็กอายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป ให้ 2-3 ครั้งแล้วแต่ชนิดของวัคซีน แต่ละครั้งห่างกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ควรให้แล้วเสร็จก่อนอายุ 6 หรือ 8 เดือนขึ้นกับชนิดของวัคซีน อาจมีผลข้างเคียงที่พบได้บ้าง คือ ไข้ ถ่ายเหลว และอาเจียน


        แม้ว่าปัจจุบันจะมีวัคซีนหยอด เพื่อป้องกันเชื้อไวรัส ซึ่งสามารถลดการติดเชื้อได้หรือลดความรุนแรงของอาการได้ก็จริง แต่การใช้วัคซีนจึงอยู่ในวงจำกัด ยังไม่ทั่วถึง เพราะไม่ได้อยู่ในโปรแกรมของการให้วัคซีนแก่เด็กทั่วประเทศตามที่กระทรวงสาธารณสุขระบุ



ความรุนแรงของโรค

         ขึ้นอยู่กับภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ จากการอาเจียน และขับถ่าย เด็กกินได้ไหม หากกินไม่ได้ ได้ให้น้ำเกลือเพียงพอหรือไม่ มีภาวะผิดปกติของสมดุลกรดด่างหรือไม่ หากเด็กเสียน้ำและเกลือแร่มาก เด็กอาจมีภาวะกรดในร่างกาย (Acidosis) ซึ่งจะมีอาการหอบลึก/หาย ใจลำบากร่วมด้วย ต้องรีบแก้ไข (ไปโรงพยาบาลฉุกเฉิน) เด็กที่เสียน้ำมาก/ขาดน้ำมากและทด แทนไม่ได้อย่างเหมาะสม อาจมีอาการช็อก หากแก้ไขไม่ทัน เด็กอาจเสียชีวิต หรือมีการทำ งานของอวัยวะต่างๆผิดปกติ (เช่น ไต) โดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อย แต่อาการท้องร่วงจากไวรัสโรต้า เกิดซ้ำได้เสมอ แต่เมื่อเกิดครั้งแรกแล้ว จะมีภูมิคุ้มกัน ทำให้การเกิดครั้งต่อๆไป อาการรุนแรงน้อยลง

        ในการเจ็บไข้ได้ป่วยของเด็ก คงไม่มีผู้ปกครองคนไหน นิ่งนอนใจถึงขนาดรอคิวรับการรักษาได้นานๆ แต่ครั้นจะไปโรงพยาบาลเอกชน ก็แพงจนเกินจะรับไหว มีหลายครั้งที่ผู้ปกครอง ตกใจกับราคาประกันชีวิตของเด็กน้อย เบี้ยเพียงสองหมื่นต่อปี กับเด็กน้อยที่มีโอกาสเสี่ยงมากที่จะป่วยบ่อย สองหมื่นที่จ่ายทุกปีนี้ ไม่เทียบเท่าการนอนโรงพยาบาลเอกชนโดยไม่มีประกัน  ซึ่งคุณอาจจะสูญเงินนับหลายๆหมื่นเพียงแค่ลูกรัก เข้ารับการรักษาเพียงสามวัน จ่ายสองหมื่นต่อปี  กับจ่ายหลายหมื่นต่อวัน แต่การรักษาสิทธิ์ต่างๆเท่ากัน....ทีนี้ ตัดสินใจหรือยังว่าจะเลือกแบบไหนดี

Credit: http://haamor.com/th/ และ https://www.vejthani.com/web-thailand/Rotavirus.php

#ประกันชีวิตเด็ก
#โรคในเด็ก 


ติดตามบทความสุขภาพและสอบถามเรื่องประกันชีวิตได้ที่

ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลประกันเพิ่มเติม
LINE ID : chonchanit
Tel : 0619546396
มิว ชลชนิต ปึงวิริยะรัตน์ รหัสตัวแทน 594844