บทความที่ได้รับความนิยม

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561

รับมืออย่างไรดีกับภาวะ HEAT STROKE


              "ร้อนอย่างกับซ้อมตกนรก" คำพูดเล่นที่ดูจะไม่เกินจริง แต่อันที่จริงก็ไม่มีใครรู้นะว่านรกร้อนแค่ไหน ช่วงเดือน เมษยน ถึง มิถุนายน ของทุกปี จะเป็นช่วงที่ประเทศไทยสัมผัสอากาศร้อน บางจังหวัดทะลุไป 40 กว่าองศา ทั้งๆที่ตามปกติสภาพอากาศประเทศไทยเรานั้น..........ก็......ร้อนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว แต่ช่วงเดือนนี้ร้อนยิ่งกว่า หน้าร้อนแบบนี้ บางคนต้องเจอกับ ภาวะ HEAT SROKE หรือ บางคนเรียกว่า โรคลมแดด

               HEAT SROKE เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถลดอุณหภูมิกายลงได้ และเป็นผลให้เกิดอันตรายต่อระบบอวัยวะน้อยใหญ่ เป็นภาวะที่ต้องได้รับการบำบัดอย่างทันท่วงทีเนื่องจากอาจทำให้เสียชีวิตได้สูงมาก บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ทหารเกณฑ์ ผู้ที่เข้ารับการฝึกทางทหารโดยปราศจากการเตรียมตัว นักกีฬาสมัครเล่น และ ผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น


          ผู้ป่วยที่เป็น HEAT SROKE  มีอาการ 3 อย่าง คือ 
  1. มีไข้สูง (อุณหภูมิแกนสูงกว่า 40.5oC)
  2. ระบบประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติ และไร้เหงื่อ  แต่ระยะต้นๆ มักมีเหงื่อออกมาก จนกระทั่งในที่สุดก็จะถึงภาวะไร้เหงื่อซึ่งเกิดจากการพร่องปริมาตรของสารน้ำและต่อมเหงื่อทำงานผิดปกติ 
  3. มีการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางผิดปกติ                                                                              เช่น เป็นลม, กระวนกระวาย, พฤติกรรมผิดปกติ, ก้าวร้าว, ประสาทหลอน หรือหมดสติ 
       
          สาเหตุหลักๆที่แน่นอนคือ สภาพอากาศ  แต่ทั้งนี้ภายในร่างกายของมนุษย์จะมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความร้อนภายในร่างกายขึ้น โดยความร้อนที่เกิดขึ้นนั้นจะระบายออกทางเหงื่อ แต่หากอากาศภายนอกร้อนกว่าอุณหภูมิของร่างกาย ร่างกายก็จะไม่สามารถระบายความร้อนออกมาได้ 

         ภาวะแทรกซ้อนของโรคนี้ อาจพบภาวะหัวใจวาย, ปอดบวมน้ำ และการทรุดลงของระบบหัวใจ และหลอดเลือด แม้ในผู้ป่วยที่อายุน้อยและมีสุขภาพดีมาก่อน การมีภาวะความดันโลหิตต่ำ ปริมาณเลือดออกจากหัวใจลดลง

       การปฐมพยาบาลเบื้องต้นการช่วยเหลือผู้ที่มีอาการHEAT SROKE 
  1. ให้นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง 
  2. สังเกตจากมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ มีเหงื่อออกผิดสังเกต มีอาการงง พูดช้าลงควรพาผู้ป่วยไปพักในที่ร่ม หรือในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเททันที 
  3. ใช้น้ำเย็นเช็ดตัวให้ผู้ป่วย หรือใช้กระบอกพ่นละอองน้ำพรมให้ทั่วตัวผู้ป่วย ซึ่งอาจใช้ กระบอกพลาสติกเช่นเดียวกับการพรมน้ำเสื้อผ้าเพื่อเตรียมรีด ตั้งพัดลมให้เป่าที่ตัวผู้ป่วยโดยตรงตลอดเวลา
  4. อย่าปกคลุมตัวผู้ป่วยด้วยผ้าแล้วทำให้เปียก เนื่องจากจะขัดขวางการระเหยของน้ำจากผิวหนัง
  5. ควรวางห่อน้ำแข็งไว้ ณ บริเวณซอกง่ามขาและรักแร้ด้วย

              เนื่องจากอาการในช่วงนี้จะคืบหน้าไปสู่อาการแบบรุนแรงอย่างรวดเร็ว เพราะร่างกายจะพยายามนำเลือดไปเลี้ยงที่ผิวหนังเพื่อให้เหงื่อออก และไปเลี้ยงไตเพื่อให้ปัสสาวะออก แต่ก็ไม่เพียงพอ สุดท้ายเลือดก็จะไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอด้วยเช่นกัน ซึ่งหากให้การช่วยเหลือไม่ทันเวลาอาการอาจจะรุนแรงและมีอาการไตวายได้ ค่ะ

             ซึ่งอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นหากเป็น HEAT SROKE  แบบรุนแรงอัตราการเสียชีวิตก็จะสูง แต่หากได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกวิธีตั้งแต่ต้นก็จะลดโอกาสเสี่ยงลงไปได้ แอร์ที่บ้านมีเปิดไปเลยค่ะ ถ้าให้เลือกระหว่างร้อน แล้วเจอกับ HEAT SROKE  กับเย็น ที่เจอแค่ค่าไฟ เลือกความเย็นไปเถอะค่ะ อย่าลืมทากันแดด ใส่หมวก ถือร่มทุกครั้งที่ออกกลางแจ้งนะคะ แสงแดดเปรี้ยงๆ ไม่ีอะไรดีกับร่างกายเราค่ะ 

            


           ขอบคุณข้อมูลจาก
            http://www.menaddiction.com
            ttps://med.mahidol.ac.th

ติดตามบทความสุขภาพและสอบถามเรื่องประกันชีวิตได้ที่

ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลประกันเพิ่มเติม

LINE ID : chonchanit
Tel : 0619546396

มิว ชลชนิต ปึงวิริยะรัตน์ รหัสตัวแทน 594844