แต่บทความนี้จะไม่น่าสนใจถ้าเป็นเพียงแค่อาการแพนิคทั่วไป ในบทความนี้เราจะกล่าวถึงโรคแพนิคที่ไม่ใช่อาการ ซึ่งในความเป็นจริงของโรคนี้ผู้ป่วย จะมีอาการหวาดกลัวอย่างรุนแรงทั้งที่ตัวเองไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายอีกด้วย จึงทำให้มีอาการแพนิคเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคแพนิครู้สึกกลัวและละอาย เนื่องจากไม่สามารถควบคุมตัวเองหรือดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ
โรคแพนิคมักพบได้บ่อยในวัยรุ่นตอนปลายหรือผู้ที่ย่างเข้าวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยผู้หญิงจะป่วยมากกว่าผู้ชาย อย่างไรก็ตาม อาการแพนิคไม่ได้หมายความว่าจะเป็นผู้ป่วยเป็นโรคแพนิคทุกราย เนื่องจากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นและหายไปเมื่อเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดอาการแพนิคจบลงหรือผ่านพ้นไปแล้ว ต่างจากผู้ป่วยโรคแพนิคที่มักเกิดอาการแพนิคหรือตื่นตระหนกอยู่เสมอเป็นเวลายาวนาน รวมทั้งมักมีปัญหาสุขภาพจิตอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น โรคซึมเศร้า หรือใช้สารเสพติดอื่น ๆทั้งนี้ ผู้ที่เกิดอาการแพนิคควรพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาการแพนิคถือว่าเป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง
ผู้ที่เกิดอาการดังกล่าวจะจัดการตัวเองได้ยาก ทั้งนี้ หากไม่ได้รับการรักษาให้หาย อาการแพนิคจะแย่ลงเรื่อย ๆ
อาการของโรคแพนิค ผู้ป่วยโรคแพนิคจะรู้สึกหวาดกลัวหรือตื่นตระหนกอย่างไม่มีสาเหตุ ซึ่งเรียกว่าอาการแพนิค โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นกะทันหัน รวมทั้งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แพนิคเป็นอาการที่รุนแรงกว่าความรู้สึกเครียดทั่วไป มักเกิดขึ้นเป็นเวลา 10-20 นาที บางรายอาจเกิดอาการแพนิคนานเป็นชั่วโมง โดยผู้ป่วยโรคแพนิคจะเกิดอาการ ดังนี้
- หัวใจเต้นเร็ว
- หายใจไม่ออก รู้สึกเหมือนขาดอากาศ
- หวาดกลัวอย่างรุนแรงจนร่างกายขยับไม่ได้
- เวียนศีรษะหรือรู้สึกคลื่นไส้
- เหงื่อออกและมือเท้าสั่น
- รู้สึกหอบและเจ็บหน้าอก
- รู้สึกร้อนวูบวาบ หรือหนาวขึ้นมาอย่างกะทันหัน
- เกิดอาการเหน็บคล้ายเข็มทิ่มที่นิ้วมือหรือเท้า
- วิตกกังวลหรือหวาดกลัวว่าจะตาย รวมทั้งรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตได้
- กังวลว่าจะมีเหตุการณ์อันตรายเกิดขึ้นในอนาคต
- หวาดกลัวและพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่หรือสถานการณ์อันตรายที่ทำให้รู้สึกหวาดกลัวในอดีต
สาเหตุของโรคแพนิคยากจะระบุได้อย่างชัดเจนเช่นเดียวกับปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิคอาจเกิดจากปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางสุขภาพจิต ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
- ปัจจัยทางกายภาพ ผู้ป่วยโรคแพนิคอาจได้รับผลกระทบ ซึ่งประกอบด้วยการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ความผิดปกติของสมอง และการได้รับสารเคมีต่าง ๆ ดังนี้
- การถ่ายทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่บุคคลในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคแพนิคหรือปัญหาสุขภาพจิตอื่น ๆ โดยบุคคลนั้นมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดที่ใกล้ชิดกันมาก ก็เสี่ยงป่วยเป็นโรคแพนิคได้ โดยผู้ป่วยอาจได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากพ่อหรือแม่ หรือได้รับจากทั้งพ่อและแม่
- ความผิดปกติของสมอง โดยทั่วไปแล้ว สมองจะมีสารเคมีที่เรียกว่าสารสื่อประสาท หากสารสื่อประสาทภายในสมองไม่สมดุล อาจทำให้เกิดอาการแพนิคได้ ทั้งนี้ โรคแพนิคอาจเกิดจากการทำงานของสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการตอบสนองแบบสู้หรือหนีของร่างกาย (Fight or Flight) เนื่องจากหัวใจจะเต้นเร็วขึ้นเมื่อเผชิญหน้ากับเหตุการณ์อันตราย
- การได้รับสารเคมีต่าง ๆ ผู้ที่ใช้สารเสพติด ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน รวมทั้งผู้ที่สูบบุหรี่ อาจป่วยเป็นโรคแพนิคได้ ทั้งนี้ นักวิจัยบางรายยังสันนิษฐานว่าโรคแพนิคอาจเกี่ยวข้องกับความไวของระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กล่าวคือ เมื่อสูดอากาศที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปมาก ก็จะกระตุ้นให้เกิดอาการแพนิคได้ อย่างไรก็ตาม การหายใจให้ถูกวิธีจะช่วยบรรเทาอาการแพนิคให้หายหรือทุเลาลงได้
- ปัจจัยทางสุขภาพจิต เหตุการณ์ร้ายแรงที่เกิดขึ้นในชีวิตส่งผลให้เกิดโรคแพนิคได้ โดยเฉพาะการสูญเสียหรือพลัดพรากจากบุคคลอันเป็นที่รัก ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้เกี่ยวเนื่องกับอาการแพนิค ผู้ป่วยจะรู้สึกหวาดกลัวหรือตื่นตระหนกหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น หรืออาจเกิดอาการดังกล่าวต่อไปเรื่อย ๆ ยาวนานเป็นปี จนนำไปสู่การป่วยเป็นโรคแพนิค นอกจากนี้ ผู้ที่เกิดอาการแพนิคมีแนวโน้มที่จะคิดว่าอาการป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ บางอย่างที่เกิดขึ้นนั้นเกี่ยวเนื่องกับสถานการณ์อันตรายต่าง ๆ เช่น ผู้ที่เกิดอาการใจสั่นจากการดื่มกาแฟ จะคิดว่าอาการใจสั่นนั้นเกิดจากอาการหวาดกลัว
การป้องกันโรคแพนิคโรคแพนิคเป็นปัญหาสุขภาพทางจิตที่ป้องกันให้เกิดขึ้นได้ยาก อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เกิดอาการแพนิคหรือป่วยเป็นโรคนี้สามารถดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดมากขึ้น และเกิดอาการแพนิคน้อยลงได้ ดังนี้
- งดหรือลดดื่มเครืองดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา โคล่า หรือช็อกโกแลต
- ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานยาหรือสมุนไพรรักษาอาการป่วยต่าง ๆ เนื่องจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจมีส่วนประกอบที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพนิคได้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดอาการง่วงเซื่องซึมระหว่างวัน
- เข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งฝึกรับมือกับความเครียด เช่น ฝึกหายใจลึก ๆ หรือเล่นโยคะ เพื่อให้รู้สึกผ่อนคลายขึ้น
- ฝึกคิดหรือมองโลกในแง่บวก ลองนึกถึงสถานที่หรือเหตุการณ์ที่ทำให้จิตใจสงบหรือผ่อนคลาย และเพ่งความสนใจไปที่ความคิดดังกล่าว วิธีนี้จะช่วยลดความฟุ้งซ่านและอาการวิตกกังวลต่าง ๆ ของผู้ป่วย รวมทั้งช่วยปรับความคิดของผู้ป่วยที่มีต่อตนเองและสิ่งรอบข้างให้ดีขึ้น
- ควรยอมรับว่าตัวเองรับมือกับอาการแพนิคได้ยาก เนื่องจากการกดดันตัวเองและพยายามระงับอาการแพนิคนั้นจะทำให้รู้สึกแย่กว่าเดิม ทั้งนี้ ควรทำความเข้าใจว่าอาการแพนิคไม่ได้ร้ายแรงถึงชีวิต แต่เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นและหายไปได้
- เผชิญหน้ากับความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น โดยลองหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว
- เมื่อเกิดอาการแพนิคขึ้นมา ควรพยายามตั้งสติ พุ่งความสนใจไปยังสิ่งที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย รวมทั้งหายใจให้ช้าลง โดยนับหนึ่งถึงสามเมื่อหายใจเข้าหรือออกแต่ละครั้ง เนื่องจากการหายใจเร็วจะทำให้อาการแพนิคกำเริบมากขึ้น
โรคแพนิคเป็นโรคที่รักษาได้ โดยผู้ป่วยต้องไปพบแพทย์และเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ป่วยโรคแพนิคจะหายได้หากได้รับการรักษาตั้งแต่เริ่มป่วยเป็นโรคดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา อาจได้รับผลกระทบในการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมทั้งเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพทางจิตอื่น ๆ ตามมา ดังนี้
- โรคกลัวที่ชุมชน (Agoraphobia) ผู้ป่วยโรคแพนิคสามารถป่วยเป็นโรคกลัวที่ชุมชนได้ โดยโรคนี้เป็นปัญหาสุขภาพทางจิตเกี่ยวกับอาการกลัวชุมชนหรือที่สาธารณะที่อาจเกิดเหตุการณ์อันตราย และหนีออกออกมาได้ยาก ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกกังวล และไม่กล้าเดินทางไปข้างนอกเพียงลำพังได้ เนื่องจากผู้ป่วยจะกังวลว่าอาจเกิดอาการแพนิคเมื่อออกไปข้างนอก แล้วทำให้รู้สึกขายหน้าที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เป็นปกติได้ หรืออาจหวาดกลัวว่าจะได้รับความช่วยเหลือไม่ทันการณ์หากอาการแพนิคกำเริบขึ้นมา ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจเกิดอาการโฟเบียอื่น ๆ ได้ เช่น ผู้ป่วยอาจกลัวที่แคบ เนื่องจากเคยเกิดอาการแพนิคเมื่ออยู่ที่แคบ
- พฤติกรรมหลีกเลี่ยงสิ่งต่าง ๆ ผู้ป่วยอาจเลี่ยงหรือไม่ทำสิ่งต่าง ๆ หากสิ่งนั้นจะทำให้เกิดอาการแพนิค พฤติกรรมหลีกเลี่ยงนี้ส่งผลต่อการใช้ชีวิต ทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติได้
- ปัญหาอื่น ๆ ผู้ป่วยโรคแพนิคเสี่ยงใช้สารเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้สูง ทั้งนี้ การสูบบุหรี่หรือบริโภคเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีนก็ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดหรือรู้สึกกังวลมากขึ้น ส่วนผู้ที่กำลังหยุดใช้ยารักษาโรคบางอย่างหรือถอนยาเสพติด อาจเกิดความวิตกกังวลสิ่งต่าง ๆ มากขึ้นอันเป็นผลข้างเคียงจากการถอนยา
ผู้ป่วยโรคแพนิคที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะมีอาการแพนิคน้อยลงและสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ การรักษาโรคแพนิคประกอบด้วยจิตบำบัดและการรักษาด้วยยา โดยการรักษาแต่ละวิธีขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ป่วย ประวัติการรักษา ความรุนแรงของโรค และความพร้อมในการเข้ารับการรักษากับนักจิตบำบัดหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
แต่โรคทางจิตเวช ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นข้อยกเว้นในการเคลมประกัน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับแผนประกันแต่ละแผนด้วย เมื่อรู้ว่าตัวเองป่วยเป็นโรคทางจิตเวชแล้วทำประกันสุขภาพไว้แนะนำให้หยิบกรมธรรม์ขึ้นมาอ่านความคุ้มครอง และข้อยกเว้นต่างๆ หรือโทรถามบริษัทประกันเพื่อความแน่ใจ ซึ่งแผนประกันที่คุ้มครองผู้ที่ป่วยเป็นโรคทางจิตเวชนั้นก็มีอยู่ด้วยเช่นกันแต่จะมีราคาที่สูงอยู่มาก เนื่องจากภาวะโรคทางจิตเวชต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาที่ยาวนาน ต้องพบหมอเรื่อยๆจนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาเป็นปีๆ บางคนที่มีอาการโรคทางจิตเวชที่รุ่นแรง เมื่อเข้ารับการรักษาแต่ละครั้งจะต้องจ่ายค่ารักษาครั้งละประมาณ 3,000 - 7,000 บาท เลยทีเดียว เนื่องจากค่าหมอ และยาที่ใช้ในการรักษาโรคทางจิตเวชนี้ก็มีราคาที่สูงเช่นกัน
หรืออีกทางเลือกหนึ่ง คือ ประกันสังคม ที่คลอบคลุมโรคทางจิตเวชด้วย ให้คุณสามารถเบิกค่ารักษาภาวะโรคซึมเศร้าได้ เพียงนำบัตรประกันสังคมไปยื่นให้กับโรงพยาบาลเพื่อเบิกค่ารักษา ทั้งนี้อาจมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่นที่คุณต้องควักเงินจ่ายเอง เช่น ค่ายาเฉพาะทาง ที่มีราคาสูงตามชนิดและความแรงของยา
#AIA #เข้าใจชีวิต #เข้าใจคุณ
ติดตามบทความสุขภาพและสอบถามเรื่องประกันชีวิตได้ที่
ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลประกันเพิ่มเติม
LINE ID : chonchanit
Tel : 0619546396
มิว ชลชนิต ปึงวิริยะรัตน์ รหัสตัวแทน 594844