บทความที่ได้รับความนิยม

วันจันทร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ภาษีที่ดิน มีกี่ประเภทกันนะ แล้วเตรียมรับมือกันบ้างหรือยัง


         ตั้งแต่เริ่มเข้าสู่วัยทำงาน เราก็อยากจะมีบ้าน มีรถ เป็นของตัวเอง แต่แค่ภาษีรายได้ ของเราแต่ละปี ก็ฉีกเงินในกระเป๋า และบัญชีไปเสียตั้งเท่าไร วันหนึ่งพอเก็บเงินได้อยากจะมีสมบัติเป็นของตัวเอง กลับต้องมีเรื่องภาษีที่ดินมาอีก หันซ้ายก็ภาษี หันขวาก็ภาษี แล้วภาษีที่ดินมันมีกี่ประเภทกันนะ เราอยู่ในข่ายที่ต้องเสียภาษีไหม ซึ่งอัตราภาษีแต่ละประเภทนั้น ปัจจุบันร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2560ได้แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ซึ่งมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันไป


     ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีวัตถุประสงค์แตกต่างกันไปนั้น ย่อมเสียภาษีในอัตราที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการบรรเทาภาระภาษี หรือลดอัตราภาษีของสินทรัพย์บางประเภทที่กฎหมายมองว่าควรได้รับการลดลง เช่น บ้านพักอาศัยหลักซึ่งได้รับกรรมสิทธิ์จากการรับมรดกก่อนที่พระราชบัญญัตภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีผลบังคับใช้ (ลดอัตราภาษีให้ 50%) หรือ ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างพัฒนาเพื่อทำโครงการที่พักอาศัย (ยกเว้นภาษีโดยให้เสียในอัตรา 0.05% เป็นเวลา 3 ปี)

        แต่ดูเหมือนว่า ปัญหาที่หนักที่สุดนั้นจะอยู่ในกลุ่มที่ดินที่ไม่ได้รับการพัฒนา หรือที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งเริ่มต้นเสียภาษีตั้งแต่ 1% และมีโอกาสเสียภาษีในอัตราที่สูงสุดถึง 5% ถือว่าที่ดินกลุ่มนี้ตกเป็นภาระสำหรับคนที่ครอบครองที่ดินในการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายภาษีในแต่ละปี ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีที่ดินรกร้างว่างเปล่ามูลค่าประเมิน 100 ล้านบาท เราจะต้องเสียภาษีสูงถึง 1 ล้านบาทต่อปีในช่วงปีแรกๆ และสูงถึง 5 ล้านบาทต่อปี ถ้าหากว่าที่ดินดังกล่าวไม่ถูกนำไปพัฒนา


      โดยปกติแล้ว แนวทางการจัดการภาษีที่ดินนั้นมีไว้สำหรับที่ดินที่มีการพัฒนาและใช้งานเป็นหลัก เช่น การโอนทรัพย์สินของกลุ่มที่ดินเพื่อการพาณิชยกรรมเข้าเป็นสินทรัพย์ของบริษัท เพื่อใช้ในการบรรเทาภาระภาษี และใช้วิธีขายบริษัทแทนการขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งจะทำให้ลดภาระภาษีของธุรกิจไปได้มาก หรือการแปรสภาพที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าให้กลายเป็นที่ดินประเภทอื่นๆ เพื่อให้มีการใช้และพัฒนาที่ดินในการลดภาระภาษี เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า อัตราภาษีของแต่ละประเภทนั้นมีความแตกต่างกัน หากเปลี่ยนที่ดินรกร้างว่างเปล่ามูลค่า 100 ล้านบาทไปเป็นที่ดินเกษตรกรรม ก็จะทำให้ภาษีลดลงจาก 1 ล้านบาทเหลือเพียง 25,000 บาทเท่านั้น 


       แต่พอคิดจะแบ่งสันปันส่วนที่ให้ทายาท เราก็ต้องมาศึกษา ในส่วนของภาษีมรดกอีก รอบตัวช่างมีแต่เรื่องราวภาษี สิ่วหนึ่งที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการรับมือภาษีที่ดินนั้น คือการวางแผนและจัดการภาษี โดยเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจแนวทางการจัดเก็บของภาษีที่ดินกันก่อนว่าเป็นอย่างไร

    ในปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า แนวทางการจัดเก็บภาษีที่ดินตามร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่นั้น มีความเหมาะสมหรือไม่ รวมถึงจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้จริงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือเปล่า ซึ่งตรงนี้เราทุกคนต้องติดตามกันต่อไป แต่เบื้องต้นนั้น ภาษีที่ดินว่างเปล่าจะเริ่มถูกจัดเก็บ ในปีหน้า พ.ศ.2562 และถ้าไม่มีความผิดพลาดอะไร ปี พ.ศ. 2563 ก็ถึงคิวบ้านที่เราอยู่ สำหรับคนที่มีหลายบ้าน ไม่ถูกสิ ต้องบอกว่าบ้านหลายหลัง ศึกษาข้อมูลให้ดีนะคะ

ขอบคุณข้อมูจาก AoM money

ติดตามบทความสุขภาพและสอบถามเรื่องการวางแผนการเงินของคุณได้ที่

ปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลประกันเพิ่มเติม
LINE ID : chonchanit
Tel : 0619546396

มิว ชลชนิต ปึงวิริยะรัตน์ รหัสตัวแทน 594844